วันอาทิตย์ที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2551

การสร้างเครือข่ายอาชีพศิษย์เก่าโรงเรียนแก้จน อบต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช

ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลังจากแต่ละรัฐบาลที่ผ่านมามุ่งดำเนินนโยบายเพื่อกระตุ้นความเจริญให้กับประเทศ ประชาชนส่วนใหญ่หลงใหลต่อกระแสบริโภคนิยม รัฐจึงพยายามและมุ่งแต่ความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นด้านหลัก มุ่งเพียงตัวเลขที่สูงขึ้น โดยยึดตามหลักรายได้สหประชาชาติ จนเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในลักษณะของฟองสบู่แตกเมื่อปีพ. ศ.2540 ยิ่งรัฐโหมนโยบายประชานิยม การได้เงินมาแบบง่ายดายจึงขาดการวางแผน มีการใช้จ่ายเงินอย่างฟุ่มเฟือย หนี้สินครัวเรือนเกือบทุกกลุ่มอาชีพขยับสูงขึ้นอย่างน่าวิตก ขณะเดียวกันตัวเลขการออมกลับลดลงเรื่อยๆ จนเกิดวลียอดฮิต จน เครียด กินเหล้า หมุนวนไปมาจนหาทางออกไม่เจอ แต่รัฐใช่ว่าจะมืดมนหรือจนทางออก นโยบายแก้ไขปัญหาความยากจนถูกปลุกขึ้นมาใช้อย่างทันทีทันใด การเปิดโอกาสให้ทุกหมู่บ้านทั่วประเทศสำรวจและขึ้นทะเบียนคนจนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว การจัดระดับและหาทางแก้ไขปัญหาอย่างเร่งด่วน จนมีภาพอาจสามารถโมเดลที่ผู้นำรัฐบาลยุคหนึ่งนำมาสร้างเพื่อปรับใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาความยากจนเป็นแบบอย่างเพื่อคนทั้งประเทศแต่เกิดวิกฤติทางการเมืองซ้ำและมีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลโมเดลแก้จนดังกล่าวจึงล้มเลิกไป แม้เกิดการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลแต่นโยบายและแผนการแก้ปัญหาความยากจนก็ได้รับการสานต่อโดยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เช่นที่อบต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช ได้นำผลจากการขึ้นทะเบียนบุคคลเพื่อแก้ปัญหาความยากจน มาสู่การจัดทำโครงการและสร้างโรงเรียนแก้จน ให้ความรู้ สานต่ออาชีพเพื่อเพิ่มรายได้และดำเนินชีวิตตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เปิดสอนรุ่นแรกเมื่อปีพ. ศ.2548 จนปัจจุบันดำเนินโครงการมาแล้ว 6 รุ่น การสร้างเครือข่ายเป็นทางออกหรือทางรอดของกระบวนการแก้จนที่ศิษย์เก่าโรงเรียนแก้จนสามารถใช้เป็นฐานในการสร้างความเข้มแข็งด้านอาชีพและมีรายได้ที่มั่นคงได้ ดังนั้นผู้วิจัยจึงเลือกแนวทางการสร้างเครือข่ายอาชีพศิษย์เก่าโรงเรียนแก้จน อบต.ขุนทะเล อ.ลานสกา จ.นครศรีธรรมราช เป็นทางออกในการสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนและเกื้อกูล

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

เขียนได้ดีมากครับ แต่การเผยแพร่ อักษรเล็กไปหน่อย ให้มาอูช่วยปรับให้ก็ได้นะ
ต่อไปจรัญสามารถใช้พื้นที่ตรงนี้ถ่ายทอดความคิดเห็นดีๆให้ สาธารณชน ทราบ